Branding 1 ในวิธีการทำการตลาดที่นิยม
คือการที่ทำให้แบรนด์หรือสินค้าของเรานั้นมีความชัดเจน โดดเด่น และมีเอกลักษณ์ให้แบรนด์เป็นที่จดจำ
จึงนับได้ว่าเป็นเรื่องที่าำคัญและจำเป็นต้องทำอย่างยิ่ง
มาดูกันว่าการทำ Branding จะมีขั้นตอนอะไรกันบ้าง
1.นิยามแบรนด์ของธุรกิจเราให้ได้
ให้การทำ Branding ออกมาดีที่สุด ขั้นแรกเราจะต้องตอบคำถามให้ได้ว่า แบรนด์หรือธุรกิจของเราตั้งใจทำอะไรเพื่อลูกค้า มีเป้าหมายอย่างไร ส่วนใหญ่จะอ้างอิงคำนิยามของธุรกิจจาก ‘พันธกิจ’ หรือ ‘Mission’ ของบริษัทฯ เป็นหลัก และเมื่อรู้แล้วว่า ธุรกิจของเรานั้นมีรูปแบบเป็นอย่างไร จะได้มาตั้งหลักได้ถูกว่า จะเริ่มทำ Branding แบบไหนให้เหมาะสมที่สุด
2.รู้จักกลุ่มเป้าหมาย
เมื่อเรารู้แล้วว่าธุรกิจของเรามีคำนิยามว่าอย่างไร การทำ Branding ให้ออกมาดีสุด เราจะต้องไม่ทำ Branding เรื่อยเปื่อย ซึ่งจะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายตัวจริงของแบรนด์ที่คุณต้องการนำเสนอสินค้าหรือบริการ หรือที่นักการตลาดนิยมเรียกกันว่า Target Audiences จะได้รู้แนวทางว่า ควรจะต้องทำ Branding อย่างไร โดยการลงมือหากลุ่มเป้าหมายนั้นเราจะต้องรวบรวมข้อมูล หรือ Data ที่มีทั้งหมดและเอามาสรุปรวมให้ได้ว่า ใครคือ Target Audience ตัวจริงของธุรกิจคุณกันแน่
3.กำหนดกลยุทธ์การทำ Branding
หมดยุค One size fits all แล้ว เมื่อการทำการตลาดออนไลน์นั้นวัดผลลัพธ์ได้จริง ดังนั้น การโปรยงบการตลาดแบบซื้อไปเรื่อยก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป โดยการกำหนดกลยุทธ์การทำ Branding นั้นจะต้องใช้ประโยชน์ได้จริง ซึ่งจะต้องนำนิยามของแบรนด์ และกลุ่มเป้าหมายมาแมตช์กันให้ได้ว่า แบรนด์ของเราควรจะยืนอยู่จุดไหน มีรายละเอียดเป็นอย่างไร โดยจะต้องวางให้ชัดว่าจุดเริ่มต้นและจุดหมายที่ต้องการคืออะไร เพื่อจะได้มองหาเครื่องมือในการพา Branding ไปให้ถึงเป้าหมาย
** สำหรับขั้นตอนนี้ เราอาจจะต้องสรุปข้อมูล Branding ของคู่แข่งในธุรกิจเดียวกันมาวางร่วมด้วย จะได้ดูข้อแตกต่างจากคู่แข่ง เสริมจุดแข็งธุรกิจให้ปังยิ่งขึ้น วิเคราะห์ได้ถูกต้องว่า เราควรจะต้องวางกลยุทธ์ไปในทิศทางไหน **
4.ลงมือออกแบบ Branding
หลังจากเข้าใจแล้วว่า Branding จะไปทิศทางไหน เพราะ Branding เหมือนกับคน หากมีตัวตนไม่ชัดเจนก็จะถูกลืมในที่สุด หลังจากเราสรุปข้อมูลกำหนดกลยุทธ์ได้แล้วว่า จะทำ Branding ในรูปแบบไหนก็มาถึงขั้นตอนการออกแบบบุคลิกของ Branding ให้ชัดเจน กำหนดอัตลักษณ์ของแบรนด์ Corporate Identity (CI) ทั้ง ฟอนต์ (Font), โลโก้ (Logo), ชุดสีหลัก (Color), โทนเสียง (Tone of voice), สโลแกน (Slogan) หรือแท็กไลน์ (Tagline) รวมทั้งรายละเอียดปลีกย่อยอื่น ๆ ที่ต้องดำเนินการให้การทำไปในทิศทางเดียวกัน ให้ Branding นิ่งและชัดเจน ซึ่งขั้นตอนนี้ทีมงานการตลาดจะต้องวางแผนให้ดีเพื่อทำการส่งบรีฟต่อให้กับทีมกราฟิกสร้างแบรนด์ให้ชัดเจนที่สุด
5.คอย Update และปรับปรุง
หลังจากที่เราได้ทำ Branding ออกมาแล้วเราก็ไม่ควรที่จะปล่อยปะละเลยให้คงที่อยู่แบบนั้น ควรจะมีการติดตามข่าวสารและเทรนด์ในปัจจุบัน เพื่อหาโอกาสที่เราจะสามารถทำการปรับปรุง Branding เล็กน้อย*เพื่อให้ไม่ตกสมัย
*การปรับเปลี่ยนไม่ควรทำบ่อยหรือเปลี่ยนแปลงเยอะจนเกินไปเพราะจะทำให้คนจำแบรนด์ไม่ได้ ควรปรับเปลี่ยนแค่รายละเอียดเพียงเล็กน้อย และไม่ถี่เกินไป*